คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์ : Dollars and Sense

คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์ หนังสือที่อธิบายว่าเรื่องเงินอย่างไร รวมถึงความผิดพลาดที่เราก่อขึ้นเมื่อคิดเรื่องเงิน ช่องว่างระหว่างความเข้าใจที่เรามีต่อวิธีใช้เงิน วิธีใช้เงินที่แท้จริงของเรา

คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์

รายละเอียดหนังสือ คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์

ISBN : 9786162873812 (ปกอ่อน) 384 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 145 x 210 x 22 มม.
น้ำหนัก : 455 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น, สนพ.
ชื่อเรื่องต้นฉบับ : Dollars and Sense
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ : Bridge Communications Co.,Ltd.
ราคา 350 บาท

สรุปเนื้อหาหนังสือ

  1. อย่าเล่นการพนัน
  • คชจ.คาสิโน​ อยู่ใน บัญชีในใจ คนละบัญชีกับค่ากาแฟ หรือคชจ.ประจำวัน
  • ของฟรี มักจะลงเอยด้วยการทำให้เราเสียคชจ.อย่างคาดไม่ถึง
  • การใช้ชิปทำให้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้จ่ายเงิน
  • การเทียบเคียง กาแฟ 4 ดอล แพงกว่ากาแฟฟรีที่โรงแรม

2. โอกาสมาเยือน

  • ต้นทุนค่าเสียโอกาส​เป็นสิ่งที่เราควรจะนึกถึงเวลาที่เราตัดสินใจเรื่องเงิน เพราะเราจะตัดตัวเลือกอื่นๆ ทิ้งไป
  • สินค้าหรือบริการอะไรที่เราไม่สามารถซื้อได้ หากเราตีดสินใจซื้อรถ
  • การแทนค่าเงินด้วยสิ่งที่ไม่เฉพาะเจาะจงส่งผลให้เราประเมินค่าของเงินต่ำกว่าความเป็นจริง

3. การเสนอมูลค่า

  • มูลค่าจะสะท้อนถึฃคุณค่าสิ่งของบางอย่าง
  • มูลค่าควรสะท้อนถึงต้นทุนเสียโอดาสด้วย เราจะละทิ้งอะไร เพื่อให้เราได้รับประสบการณ์​บางอย่าง

4. เราลืมไปว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของการเทียบเคียง

  • การซื้อของลดราคาเยอะๆ เป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจ
  • การซื้อของโดยเทียบเคียงกับราคาก่อนลด
  • ประเมิณมูลค่าสินค้านั่นยาก เราจึงเทียบเคียงกับสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น
  • ตัดสินตากปริมาณ​ โดยเทียบเคียงด้วยถ้วย
  • การเปรียบ​เทียบไข่มุกดำ กับเพชรพลอย
  • เราควรประเมิณมูลค้าสินค้าจากที่เราจ่ายไป ไม่ใช่จ่ายมูลค่าที่มันลดราคาลงมา
  • การมีตัวเลือกให้เปรียบเทียบ ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • การมีโปรโมชั่น ทำให้ลูกค้าเลือกได้ง่ายขึ้น
  • ส่วนลดเป็นยากระตุ้น​ความโง่เขลา
  • ตัดสินใจโดยอาศัยการเทียบเคียงตัวเลือก
  • สินค้าราคาแพง กับราคาถูก เป็นเส้นทางให้เราเลือกราคาปานกลางแทน
  • ความสุขจากการเปรียบเทียบกับคนอื่น?
คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์

5. เราแบ่งแยกหมวดหมู่

  • การตัดสินใจใช้จ่ายเงิน ไม่ควรจะได้รับอิทธิพล​จากบัญชีงบประมาณแต่ละหมวด
  • การใช้เงินขึ้นอยู่กับว่าเราได้เงินมาอย่างไรด้วย ยาก/ง่าย
  • เงินที่ได้มาพิเศษ จะใช้จ่ายได้ โดยปราศจากความรู้สึกผิด
  • เมื่อเราประหยัดเงินจากหมวดหมู่นึง เราจะให้รางวัลใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอีกหมวดหมู่นึง

6. เราหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด

  • การปิดฉากอย่างสุขสันต์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วงปิดท้ายของประสบการณ์หนึ่ง จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะคิดถึงจดจำและประเมินค่าประสบการณ์ทั้งหมดนั้นอย่างไร
  • การจ่ายเงิน เหมือนต้องทิ้งอะไรบ้างอย่าง
  • ฮันนีมูน​ ควรลดความเจ็บปวดการจ่ายเงิน ส่วนของหวาน ควรเพิ่มความเจ็บปวดการจ่ายเงิน
  • เรายอมจ่ายเงินมากขึ้น เมื่อจ่ายล่วงหน้า
  • จ่ายเงินน้อยลงเมื่อจ่ายทีหลัง
  • จ่ายเงินน้อยที่สุดเมื่อจ่ายระหว่างที่บริโภคสินค้า
  • ความเจ็บปวดจากการจ่ายเงินทรงพลังมาก จนขัดขวางพวกเขาให้ยอมอยู่อย่างทรมาน
  • เมื่อเราจ่ายเงินซื้ออะไรก่อนที่จะใช้สิ่งนั้น เราก็จะแทบไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย
  • บัตรเครดิต​ทำให้เราคิดถึงแง่บวกกับของที่ซื้อมา ตรงข้ามกับการจ่ายเงินสด จะทำให้คิดถึงแง่ลบมากกว่า การประเมินค่าต่างกัน

7. เราเชื่อใจตัวเอง

  • ยิ่งราคาประกาศขายบ้านสูงเท่าไร มืออาชีพก็มักจะประมาณราคาบ้านนั่นสูงขึ้น
  • และในทางกลับกัน คนทั่วไปจะไม่ค่อยสนราคาประกาศขาย
  • ระดับความพึงพอใจแต่ละคนนั้นแตกต่างกันมาก จึงอาจประเมินมูลค่าต่างกัน
  • เมื่อมีราคาถูกเสนอขึ้นมา และเราเกลี้ยกล่อมให้ตัวเองเชื่อว่ามันเป็นราคาที่สมเหตุสมผล ราคานั้นจะฝั่งแน่นอยู่ในหัวของเรา

8. เราประเมินค่าสิ่งที่มีสูงเกินจริง

  • ปรากฎการณ์ความเป็นเจ้าของ
  • ความพยายาม และความทุ่มเท ทำให้เราเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของมากยิ่งขึ้น
  • คนที่ถือแก้วกาแฟนานเกิน 30 วินาที มีโอกาสจ่ายเงินซื้อมากกว่าถือแค่ 10 วินาที
  • ให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนเดือนแรก
  • การหลีกเลี่ยงความสูญเสีย
  • เรารู้สึกเจ็บปวดจากการสูญเสียเงิน 10 ดอลลาร์อย่างรุนแรง มากกว่าที่รู้สึกยินดีจากการได้เงิน 10 ดอลลาร์ถึงสองเท่า
  • มีโอกาส 20% ที่จะรอดชีวิต กับ มีโอกาส 80% ที่จะเสียชีวิต
  • ต้นทุนจม sunk costs
  • เราไม่ควรคิดว่าตัวเองลงทุนไปมากแค่ไหนแล้ว แต่เราควรมุ่งเน้นว่ามันจะมีค่ามากแค่ไหนในอนาคต
  • เราควรคิดว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหน และอะไรจะเกิดขึ้นนับจากนี้ ไม่ใช่คิดว่าเรามาจากตรงไหน

9. เราใส่ใจเรื่องความยุติธรรม และความพยายาม

  • ความไม่ชอบทำให้เราลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อแสดงความไม่พอใจ
  • เราให้ความสำคัญกับความพยายาม และใช้ระยะเวลาทำงานนาน มากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมา
  • ความโปร่งใสในความพยายาม เพิ่มคุณค่าได้ เพราะลูกค้าเข้าใจมูลค่า

10. เราเชื่อในมนตร์วิเศษของภาษา และพิธีกรรม

  • เนื้อวัวปราศจากไขมัน 80% กับ เนื้อวัวมีไขมัน 20%
  • เงินคืน 200$ เอาไปใากธนาคาร กับ โบนัส 200$ เอาไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • คำว่างานฝีมือทำให้เพิ่มมูลค่าสินค้าเพราะต้องอาศัยความพยายามมากเป็นพิเศษ
  • การแบ่งปันย่อมยุติธรรมและเป็นคุณสมบัติอันยอดเยี่ยมของมนุษย์
  • พูดให้เข้าใจยากเป็นการสร้างมูลค่าอย่างนึง
  • กินช็อกโกแลตแบบนี้ต้องมีพิธีรีตองกลับมีการหักและแกะห่อหรือวิธีการบางอย่างแล้วค่อยกิน เรียกว่า พิธีกรรม ก่อนบริโภค

11. เราประเมินค่าความคาดหวังสูงเกินจริง

  • ความคาดหวังสามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางที่เราสัมผัสสิ่งต่างๆ ได้
  • ความคาดหวังของครู ได้เปลี่ยนพฤติกรรมที่มีต่อเด็กที่หวังว่า พวกเขาจะเรียนดี
  • ภาพเขียนโมนาลิซาถูกขโมย จึงทำให้มันดูมีมูลค่ามาก
  • ปัญหาของความคาดหวังที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตก็คือ ถ้ามันแตกต่างจากประสบการณ์นั้นมากเกินไป มันอาจจะทำให้เราผิดหวัง เช่นเคยได้เงิน 100$ แต่ปีนี้ได้ 25$
  • เมื่อเราจ่ายเงินก่อนจะบริโภค มันจะลดความรู้สึกเจ็บปวดในขณะบริโภค
  • พึงพอใจมากขึ้น หากพวกเขาจินตนาการว่าเกมยอดเยี่ยมแค่ไหนก่อนที่จะได้เล่น (ปัจจัยกระตุ้นความอยาก)

12. เราควบคุมตัวเองไม่ได้

  • เราเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเองอยู่ตลอดเวลา
  • เราประเมินค่าเวลาปัจจุบันสูงกว่าประเมินค่าสิ่งเหล่านั่นในอนาคต
  • การเลือกในอนาคตจะไม่มีอารมณ์มากเกี่ยวข้อง
  • ปัจจัยใดบ้างนอกเหนือจากการลดความสำคัญของอนาคตที่ทำให้พลังใจเราลดลง
  • เรามักจะกิน เพราะเราเห็นอาหาร
  • การมีฐานะมั่งคั่งขึ้นอย่างกะทันหันมักก่อให้เกิดความท้าทายมากเป็นพิเศษ

13. เรามุ่งเน้นเรื่องเงินมากเกินไป

  • ของแพงย่อมต้องดีกว่าเสมอ ?
  • เราจะเชื่อมโยงราคาเข้ากับมูลค่า
  • ราคาแพงเป็นสัญลักษณ์แทนประสิทธิภาพ ?
  • เมื่อความซับซ้อนของสินค้าเพิ่มขึ้น การอาศัยราคากลายเป็นกลยุทธ์ที่เรียบง่าย และน่าดึงดูดมากขึ้น
  • เงินไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายในชีวิต มันคือวิธีการไปสู่จุดหมาย เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่จับต้องได้มากกวาาความสุข
  • เงินไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต ไม่มีคนใกล้ตายคนใดที่นึกเสียดายว่าพวกเขาน่าจะใช้เวลากับเงินของตัวเองมากกว่านี้
  • กลยุทธ์การตัดสินใจทางการเงินที่มีประโยชน์คือ การแสร้งว่าเงินไม่มีอยู่จริง

14. ใช้จ่ายเงินอย่างมีสติ

  • ดวลาตัดสินใจเรื่องเงิน สิ่งที่ควรจะมีความสำคัญก็คือต้นทุนค่าเสียโอกาส
  • ผลประโยชน์ที่แท้จริงจากของที่ซื้อ
  • ความเพลิดเพลินที่แท้จริงที่เราได้รับ เมื่อเทียบกับจากการใช้เงินในการทำอย่างอื่น
  • คุณต้องเสียสละสิ่งใด เพื่อให้ได้สิ่งใดมาครอบครอง แปลงเงินให้กลายเป็นระยะเวลาที่ต้องทำงานเพื่อใช้จ่ายอะไรบ้าง เช่น เงินเดือนจำนวนกี่เดือน
  • การซื้อเสื้อในราคา 60 บาทที่ลดราคาจาก 100 บาทไม่ใช่การประหยัดเงิน 40 บาทแต่เป็นการใช้จ่ายเงิน 60 บาท
  • เงินแต่ละบาทเหมือนกันหมดไม่สำคัญว่าเงินนั้นได้มาจากที่ไหนจะมาจากการทำงานหรือลอตเตอรี่หรือปล้นธนาคาร
  • คนที่ไม่นำประวัติการใช้จ่ายของเราเองมาเป็นบทเรียนย่อมมีโอกาสทำแบบนั้นซ้ำอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์

15. ควบคุมตัวเอง

  • สาเหตุที่เราไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เป็นเพราะเรามองข้ามอนาคตไป เนื่องจากไม่มีความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับมัน
  • การออมเงินเพื่ออนาคตให้ความรู้สึกเหมือนกันมอบเงินให้กับคนแปลกหน้าแทนที่จะให้ตัวเอง
  • ลองเขียนจดหมายหาตัวเองในอนาคต
  • เรามีแนวโน้มจะออมเงินเพื่อการเกษียณในวันที่ 18 ต.ค. 2037 มากกว่าในอีก 20 ปี ควรระบุชัดเจน
  • สัญญายูลิสซีส หรือควบคุมตัวเองแบบผูกมัด เราทำให้ตัวเองไม่มีทางเลือก

16. ศึกระหว่างเรากับพวกเขา

  • ข้อมูลมากไปย่อมไม่ดี เช่น เก็บข้อมูลการเต้นหัวใจ ปริมาณแคลอรี่ จำนวนก้าวเดิน เพราะมันลดทอนความเพลิดเพลินได้
  • ประเมินระดับการจ่ายเงินที่เหมาะสมด้วยการเฝ้ามองสิ่งที่เพื่อนของเรากำลังทำอยู่ ยกเว้นการออมเงินที่ไม่สามารถเห็นได้
  • เราสามารถใช้จ่ายเงินน้อยลงได้ด้วยการซุกซ่อนเงินไม่ให้ตัวเองเห็น
  • การลงทุนซึ่งให้ผลตอบแทนดีที่สุดคือคนที่บืมไปว่าตัวเองมีพอร์ตการลงทุน
  • เมื่อเงินเดือนถูกนำเสนอเป็นจำนวนรายปี เราจะมีมุมมองระยะยาวมากขึ้น ทำให้ออมเงินเกษียณมากกว่า
  • เงิยเดือน 6,000 กับ เงินเดือน 5,000 + โบนัส 12,000 จะดีกว่า เพราะเงินไม่หมดไปกับรถ อาหาร แต่จะเอามาใช้มำอะไรพิเศษ ไม่ก็ออมเงิน

17. หยุดและคิด

  • คนฉลาดรู้ดีเมื่อตัวเองกลายเป็นคนโง่
  • ได้รับเงินซองเดียว เราจะใช้จนหมด เหมือนการกินขนม แต่ถ้าแยกหลายซอง เราจะหยุดพัก เมื่อหมดแต่ละซอง
  • เราได้รับความเพลิดเพลินและมูลค่าที่แท้จริงมากแค่ไหนจากการซื้อของ