สรุป 40 แนวคิดหุ้น โดยพี่แพท ภาววิทย์ [3/3]

ช่วงที่กำลังเขียนบทความนี้ SET index อยู่ต้นๆ 1,600 จุด มีหลายเสียงบอกว่า ปี 58 น่าจะทะลุ 1,800 จุด แต่ก็มีอีกเสียงที่ว่า น่าจะตกลงมาที่ 1,500 จุดอีกครั้ง…

ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลง เราควรที่จะศึกษาการลงทุน หลักการและ แนวคิดหุ้น อยู่เรื่อยๆ ตอนนี้เป็นตอนที่ 3 (สุดท้าย) สำหรับใครที่พลาดตอนที่ 1 และ 2 สามารถตามอ่านได้ที่ลิ้งค์
ตอน 1 : www.abzolute.in.th/แนวคิดหุ้น-พี่แพท-1/
ตอน 2 : www.abzolute.in.th/แนวคิดหุ้น-ภาววิทย์-2/
ส่วนคนที่อ่านแล้วเรามาลุยกันต่อดีกว่า เพราะผมดองบทความนี้ไว้หลายเดือนมาก แหะๆ 😀

abzolute cover

27.) วิธีสร้างความเจริญให้ประเทศไทย
– พวกเราใช้ทรัพยากรในการหารายได้เยอะเกินไป เพราะในสมัยทุนนิยมมันจะโดนเอาเปรียบ ควรใช้สมองและสองมือ เช่น facebook เน้นไอเดีย ลองคิดดูถ้าขายแต่ทรัพยากรต้องใช้ถ่านหินเท่าไร น้ำมันกี่ล้านลิตร ถึงจะได้มูลค่าเท่า facebook และ google อีกอย่างการใช้ไอเดียนั้นลงทุนต่ำมากๆ
– เราเหมือนเป็นอาณานิคมญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นให้เราผลิตของให้กับเขา อย่างสิงค์โปรก็ควบคุมการสื่อสารในกลุ่มอาเซียน โดยการซื้อหุ้นการสื่อสารของประเทศนั้นๆ
– FORD คือ บริษัทที่เปลี่ยนโลกปฏิวัติอุตสาหกรรม
– คนชอบคิดว่าเรียนปริญญาก็จบแล้ว แต่จริงๆ ปริญญาคือสิ่งที่เค้าคิดขึ้นมาแล้ว เราจะต้องต่อยอด เราต้องเปรียบเทียบคนเหมือนสินค้า เราต้องแตกต่าง ต้องมีคุณค่า และต้องดีกว่า
– ส่วนใหญ่เราจะเป็น OEM ที่ไม่มี value ไม่มี Innovation ไม่มี Knowhow
– เราต้องทำไงก็ได้ให้แตกต่างกับคนที่ทำงานใกล้ๆ ต้องทำให้โดดเด่นด้วยคุณภาพของงาน

28.) ทำไมต้องออมในหุ้น
หุ้น SCC โต 400 เท่าใน 30 ปีเฉลี่ยโต 10 เท่า
– การฝึกวิชา ต้องไปฝึกที่โหดๆ ถึงจะแกร่ง
– เงินสดของเราเหมือนน้ำแข็ง วางไว้เฉยๆ แล้วมันก็จะละลายไปเรื่อยๆ

29.) จากจำนำข้าว สู่หนี้ครัวเรือน และตัวเรา
– ตลาดทุนไม่ใช่ที่สำหรับให้คนที่จะรวยเร็ว แต่เป็นที่สำหรับคนที่จะรวยจริง
– ตอนเกิดวิกฤต ค่า P/BV จะต่ำกว่า 1 นั้นหมายความว่า เราลงทุนได้ถูกกว่าเจ้าของ
– หุ้นที่คนไม่ชอบ แปลว่าเจ้ามือยังไม่เล่น ถ้าคนชอบแปลว่าเจ้ามือซื้อไปแล้ว และกระจายข่าวให้คนชอบ

30.) แก้วิกฤติกับการออมไว้ในหุ้น
– ตอนนั้นวิกฤติยุโรป กรีซกำลังจะพัง (และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่ากำลังจะพังอีก) ทำให้ตลาดถึงจุดต่ำสุด แล้วมันขึ้นได้ไง นั้นก็เพราะว่ามีคนแอบซื้อ ก็จะเป็นพวกกองทุน รายใหญ่ๆ
– เมื่อเราผิดแล้ว ต้องโทษตัวเองก่อนเลย เราถึงจะได้เรียนรู้จากมัน
– ใครจะไปรู้ว่ามันเลวร้ายที่สุด หุ้นมันไม่มีถูกที่สุด ไม่มีใครรู้ มันมีแต่เป็นรอบๆ ต้องซื้อในจุดที่ make sense
– นักลงทุนต้องมองที่ปันผล ซึ่งมันเป็นมูลค่าที่แท้จริง แต่ถ้าหุ้นไม่จ่ายปันผล เพราะจะนำเงินไปลงทุนต่อนั้นแปลว่าเราเน้นที่ผลต่างราคามากเกินไป ซึ่งก็ไม่ต่างจากนักเก็งกำไร
– ออมในหุ้น คือ ไม่สนว่าราคาเท่าไร แต่สนที่มูลค่าหุ้น หรือปันผลเป็นหลัก

10968322_10152553095446316_6017207898351251915_n

31.) แกะรอยหยักชีวิต
– คนส่วนใหญ่มองตลาดหุ้นเป็น active income
– สำหรับนักลงทุน ซื้อหุ้นปั๊ป ก็ตัดเรื่องราคาทิ้งไป เราก็เก็บเป็นเครื่องผลิตเงินให้เรา
– คนที่ทำงานหนัก มักจะไม่มีเวลาเสมอ

32.) สะกิดต่อมคิดจากชีวิตคนอื่น
– ซื้อจนสุดโต่งมากไป ทำให้ดิ่งลงมาสุดโต่งเหมือนกัน เพราะเกิดจากความโลภ
– สังคมทุนนิยม จะตีคุณค่าคนด้วยเงิน
– อยากมีเหมือนคนอื่น เราต้องมาดูที่ตัวเองก็ อย่าไปเปรียนเทียบกับคนอื่น แต่จงเทียบกับตัวเราที่ดีกว่า
– ของแบรนด์เนมจับกลุ่มลูกค้าที่รสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำ อยากทำให้เหมือนคนรวย

33.) ภาษีต่ำกว่าเป้าบอกอะไรเรา
– มันจะพยายามบอกว่าทุกคนใกล้จะหยุดการลงทุน
– บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่โต 10% ทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งมากกว่า GDP ประเทศ
– ส่วนใหญ่ 20% ของตลาดจะได้กำไร และเพียง 5% เท่านั้นที่ทำกำไรได้มหาศาล ซึ่งเมื่อวันไหนเราสวนทางกับตลาด เรานั่งยิ้มได้เลย เพราะว่ามาเราถูกทางแล้ว
– เวลาในการลงทุนที่ดีที่สุดคือ เวลาที่ไม่มีข่าวดีหลงเหลืออยู่ในตลาดเลย แล้วตอนนี้มันใช้เวลาลงทุนแล้วหรือยัง ? เราต้องวิเคราะห์ตามจริง ไม่เอาอารมณ์มาปนกับเหตุผล

34.) กับดักหุ้นน่าออม
– หุ้นที่จะขึ้นได้ จะต้องเป็นหุ้นที่อยู่ในมือของรายย่อยน้อยที่สุด ถ้าถือเยอะ มันจะไม่ขึ้น
– ให้ลองถามเพื่อนว่ายังถือหุ้นตัวนี้อยู่ไหม ถ้าถือแปลว่าแย่แล้ว แต่ถ้าเพื่อนขายไปแล้วเราเริ่มสบายใจได้ ต้องหมั่นใจพื้นฐานว่าเค้าเติบโตหรือป่าว เค้าลงทุนเพิ่มใหม่ ขยายโรงงาน กำลังการผลิต
– หุ้นที่มีกระแสข่าว จะทำราคาสูงสุดได้แค่ 3 วัน จากนั้นก็จะหายไปเลย
– การไม่ปันผล เพราะจะเก็บเงินไว้ลงทุน ขึ้นอยู่กับความสามารถผู้บริหารต้องเก่ง หรือไม่ก็ควรกู้มาลงทุนแทน
– ระวังหุ้นที่สร้างข่าว ไม่เคยปันผลมาเลย ปีนี้ปันผลมาเป็นพิเศษ ต้องระวัง

35.) Money 3 Level

1.ซื้อความสะดวกสบาย
2.ซื้อความรัก
3.ซื้ออำนาจ

– ทุกคนเอาเงินเป็นเป้าหมาย แล้วมุ่งเป้าไปที่เงิน ทุกคนก็จะแย่งกันและเกิดความเครียด
– social media ทำให้เราเปรียนเทียบกันมากเกินไป ทำให้หลุดเป้าหมายได้ง่าย เพราะซื้อนู้น ซื้อนี้มาแข่งกัน
– เงินมากขึ้น ไม่ได้มีความสุขมากขึ้น

10407758_10152543650256316_4274248699393269717_n

36.) ความจริงของเรื่องการเงิน 1
– การศึกษาไทยสอนเด็กให้รู้เรื่องการเงินช้าไป
– การลงทุนเหมือนการขี่จักรยาน มันต้องล้มก่อน
– ต้นปีส่วนใหญ่ตลาดหุ้นจะลง เพราะ LTF/RMF ปลายปีราคาจะสูง แต่ก็ไม่แน่เสมอไป
– เรื่องดอกเบี้ยทบต้น ควรสอนตั้งแต่เด็ก เพราะว่าสอนตอนแก่ กว่าจะได้ทบต้นก็จะไม่ทันแล้ว ไม่เกิดประสิทธิภาพ
– พ่อแม่บ้างคนเตรียมเงินก้อนไว้ให้ลูกเรียน แต่ก็ต้องเอาเงินนั้นมาใช้ก่อน แต่ถ้านำเงินนั้นมาออมในหุ้นจะดีกว่า

37.) ความจริงของเรื่องการเงิน 2
– ระหว่างความมั่นคงกับมั่งคั่ง ส่วนใหญ่จะเน้นมองความมั่นคง ซื่งก็คือไม่เสี่ยง แต่ปัจจุบันในการไม่เสี่ยงไม่ได้ผลตอบแทนแล้ว เช่น ดอกเบี้ยธนาคาร
– ส่วนใหญ่เอาเวลาไปทำงานเพื่อที่จะแลกเงิน แต่เวลามีจำกัด มีลิมิต ทำเกินกว่านั้นไม่ได้ รายได้ก็จำกัดตามเวลาที่มี เราต้องเอาเงินมาช่วยเราทำงานไปด้วย
– สถาบันการเงินส่วนใหญ่มักจะมีเงื่อนไขที่เอาเปรียบเราเสมอ และยังสงเสริมให้เรามีหนี้อีกด้วย เพราะธนาคารให้กู้มากกว่าเงินเดือนเรา
– ที่ดินที่ดีต้องซื้อที่แพงๆ ยกตัวอย่างเช่นที่รังสิตมันไม่ขึ้นมา 30 ปีแล้ว
– รายได้จะลิมิตจากความรู้ที่เรามี
– อ่านหนังสือแล้วต้องทำตาม ต้องลงมือ ไม่งั้นก็ไร้ค่า

38.) งานแรกของมหาเศรษฐีแห่ง Wall street
– วอเรน ปัฟเฟต เริ่มทำงานตั้งแต่ 6 ขวบ ขายหมากฝรั่ง โดยเป็นพ่อค้าคนกลาง
– ข้อดีทำงานแต่เด็กคือใช้ตังน้อย ถ้าล้มก็จะล้มไม่เจ็บ แต่ถ้าได้รับภาระธุรกิจครอบครัว ถ้าล้มทีก็จะเป็นคนบาปของตระกูล กดดันมาก
– งานแรกของแพท ภาววิทย์คือ ขายตรงมา 1 ปี เพื่อนเลิกครบ ตอนแรกสมัครขายประกัน โดยเค้าให้ลองขายปากกาโชว์ (เทคนิคคือต้องดูว่าลูกค้าต้องการอะไร) สรุปเค้าไม่รับ ฮ่าๆ
– งานขายสอนความล้มเหลว เพราะขายไม่ค่อยได้ เลยต้องหาวิธีมาแก้ไข

39.) คนรวย VS คนชั้นกลาง
ความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนชั้นกลาง
– คนรวย ต้อง คิดยาว คนส่วนใหญ่กว่า 80% จะเลิกเล่นหุ้นภายใน 6 เดือน
– คนรวย พูดเกี่ยวกับเรื่องไอเดีย คนชั้นกลาง พูดเกี่ยวกับสิ่งของ และคนจน พูดถึงเรื่องของคนอื่น
– คนรวยยอมรับการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาตัวเอง ส่วนคนจนมักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
– คนรวยกล้ารับความเสี่ยงที่ได้มีการพิจารณา และไตร่ตรองดีแล้ว

40.) ตีลังกาคิดสินค้าและบริการ
– เรียนเพื่อให้รู้วิธีการเรียน จะได้เรียนต่อไปเรื่อยๆ
– โบรกเกอร์ชอบแนะนำตอนใกล้ๆ ดอย
– เราต้องรู้ว่า เราผิดพลาดเพราะอะไร ไม่ต้องโทษคนนู้นคนนี้ ควรโทษตัวเองเป็นอันดับแรก
– สิ่งที่คนอื่นทำ เราลองทำตรงข้าม นั้นก็คือคิดนอกกรอบแล้ว เช่น google รวบรวมข้อมูลมาไว้ที่เดียว แต่ facebook คิดว่าข้อมูลที่ดี เพื่อนจะเป็นคนหามาให้คุณเอง
– ส่วนใหญ่ถ้าให้คนเริ่มทำธุรกิจ ก็จะเปิดร้านขายกาแฟ แต่ทำไหมเราต้องทำเหมือนคนอื่นละ คิดแค่กาแฟถูกกว่า อร่อยกว่า ถ้าคิดงี้ก็เจ๊งอยู่แล้ว เพราะโจทย์มันผิด เราต้องดูช่องว่าง หรือไม่ก็เราต้องทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำที่สุด
– ผมเริ่มทำตั้งแต่ blog ให้อ่านฟรี ก็เลยมีฐานลูกค้าในการเขียนหนังสือมาขาย

แถมอีกข้อละกันครับ
41.) เรื่องของนักปั่นหุ้นที่คุณไม่รู้
– หุ้นสามารถลงได้ 80% โดยบริษัทไม่เจ๊ง
– เวลาหุ้นขึ้น มันจะขึ้นเหนือพื้นฐาน
– รายย่อยจะซื้อรับขาลงตลอดทาง
– หุ้นปั่นซื้อแล้วไม่ผิด แต่ต้อง cut loss ให้เป็น
– หุ้นไหนมีข่าวอย่าไปดู เสียเวลา เพราะมันแพงแล้ว ควรซื้อหุ้นที่ไม่มีข่าว

จบไปแล้วนะครับ กับสรุป 40+1 แนวคิดหุ้น โดยพี่แพท ภาววิทย์ กลิ่นประทุม ถ้ามีส่วนไหนขาดตกบกพร่อง หรือข้อมูลผิดพลาดประการใด คอมเม้นทักท่วงได้นะครับ เพราะผมก็มือใหม่หัดลงทุนในหุ้นที่กำลังศึกษาหาประสบการณ์ในตลาดทุนอยู่ครับ แหะๆ 😀