1 ปีในตลาดหุ้นที่สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่

ผ่านมา 1 ปีเต็มกับการลงทุนใน ตลาดหุ้น ย้ำนะครับว่าลงทุนในตลาดหุ้น ไม่ได้เล่นหุ้นนะครับ
ความหมายและหลักการมันต่างกัน

 

set_1
ผมขอไม่เผยแพร่หุ้นที่ถืออยู่ เนื่องจากผิดจรรยาบรรณนักลงทุนนะครับ (เค้าว่างั้นกันนะ)

1 ปีในตลาดหุ้น 1 ปีที่สร้างสิ่งยิ่งใหญ่ในชีวิต

สำหรับชื่อหัวข้อคล้ายๆ กับหนังสือของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่ชื่อว่า “ก้าวเล็กๆ ในตลาดหุ้น-ก้าวที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต” ท่านเป็นไอดอลที่ผมเดินตามหลักการในการลงทุนแบบ VI เลยครับ

ผมได้เริ่มเปิดพอร์ตหุ้นตั้งแต่วันที่ 06/06/56 นี้ก็ครบ 1 ปีแล้ว หุ้นตัวแรกในพอร์ตลงทุนของผมติดดอย(ซื้อในราคาที่แพง) มานาน(ประมาณ 8 เดือน) จนเมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งจะบวกมาได้ เนื่องจากตอนนั้นซ่าส์มาก ซื้อครั้งเดียวเกือบจะเทหน้าตัก มีเท่าไรใส่หมด เพราะแค่คิดว่าราคาถูกแล้ว โดยปราศจากการศึกษาที่แท้จริง ผมก็อยากแนะนำว่า

  1. ควรประเมินมูลค่าหุ้นแบบจริงๆ จังๆ มีหลักการ มีเหตุผล ไม่ใช่มานั่งเทียนคิดเอง เออเอง หาข้อมูลให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ เก็บบทวิเคราะห์ของแต่ละโบรกเกอร์ และไม่ได้ให้เชื่อเค้าทันทีนะครับ ให้มากรอง ชังน้ำหนักด้วยเหตุและผล
  2. เมื่อเรามั่นใจแล้ว แนะนำให้ตั้งราคาซื้อไว้ในใจหรืออาจจะโน็ตไว้ในกระดาษ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาว่าถ้าไม่เป็นตามราคานี้ จะไม่ซื้อเด็ดขาด! และไม่ขายเด็ดขาด! ส่วนตัวผมจะตั้ง MOS(margin of safety) ที่ 35% ของมูลค่าที่แท้จริง(สำหรับเวลาจะซื้อ) หมายความว่า ถ้ามูลพื้นฐานของหุ้นนั้น เท่ากับ 100 บาท ผมจะซื้อต่อเมื่อราคา 65 บาท และราคาที่จะขายตั้งบวกจากราคาเพิ่มฐานอีก 20% ก็คือ 120 บาทถึงจะขาย ซึ่งผมพยายามตั้งไว้สูง เพราะไม่อยากขาย ถ้าพื้นฐานบริษัทไม่มีปัญหาแย่จริงๆ ของดีใครเค้าเอามาขายกันละ ก็ต้องเก็บไว้ 😀
  3. เมื่อราคาตามเป้าที่เราตั้งแล้ว ให้ทยอยซื้อครั้บ ในกระดาษที่เราโน็ตไว้ในข้อที่สอง เช่น ราคาที่เราตั้งใจไว้ 10 บาท ก็เริ่มซื้อได้ พอวันรุ่งขึ้น มันเพิ่มเป็น 10.50 บาท ก็หยุดซื้อ วันต่อมา เหลือ 9.50 บาท ก็อาจจะซื้อมากขึ้นกว่าเดิม โดยไม่ต้องซ่าส์ซื้อครั้งเดียวเหมือนผม เพราะมีโอกาสที่ราคามันจะต่ำกว่าราคาพื้นฐาน
  4. เราคิดว่า หุ้นที่เราถืออยู่นั้น เราจะเชื่อมั่นในตัวมันได้ขนาดไหน ถ้าราคาหุ้นตัวนั้นตกไป 50% เพราะสภาวะตลาดอย่างเดียว โดยที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นไม่เปลี่ยน เราจะขายทิ้งไหม ? ถ้าเราไม่สามารถทนความรู้สึกนั้นได้ ผมว่ามันยาก (แต่เอาจริงๆ ผมก็ไม่เคยถือหุ้นที่ตกไปถึง 50% เลยนะ อย่างมากก็ 30% ตอนนั้นก็โคตรจะทรมารเลย ฮ่าๆ) วิธีแก้สำหรับผมคือ ไม่ต้องติดตามข่าวหุ้น เน้นหาหนังสือหลักการลงทุนมาอ่านแทนก็ช่วยได้เยอะครับ

ที่ว่ามา 4 ข้อที่ว่าเป็นหลักการในใจของผม ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหุ้นแต่ละตัว แต่ว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน และไม่มีทางที่เราจะวิเคราะห์ถูก 100% เพราะไม่มีใครสามารถรู้อนาคตได้ และอีกอย่าง ผมไม่มีทางขายหุ้นตัวนี้ มันจะเป็นหุ้นที่เตือนสติผม

เอกสารรายละเอียดการประชุมผู้ถือหุ้น บางครั้งก็จะส่งรายละเอียดงบการเงิน และ CD แนะนำเกี่ยวกับบริษัท
เอกสารรายละเอียดการประชุมผู้ถือหุ้น บางครั้งก็จะส่งรายละเอียดงบการเงิน และ CD แนะนำเกี่ยวกับบริษัท

ผมมีบทความสั้นๆ อยากจะให้อ่านครับ เป็นคำพูดของ อาจารย์ชัชชัย
“ถ้าคุณซื้อหุ้นโดยมีอารมณ์ร่วมแค่ตัวเลขราคาขึ้น ราคาลง คุณคือนักเก็งกำไร หรือเรียกว่ายๆ ว่านักพนันนั่นล่ะ ถ้าคุณซื้อหุ้นโดยมีอารมณ์ร่วม รู้สึกดีที่ถือหุ้นบริษัทนั้น ซื้อไว้ รอถือได้ไปเรื่อยๆ ถ้าปัจจัยไม่เปลี่ยนรุนแรง คุณคือนักลงทุน ถ้าถามว่าหุ้นลงขนาดไหนควรซื้อ ก็ต้องตอบให้ได้ก่อนว่าคุณเป็นนักเก็งกำไร หรือนักลงทุน ถ้าเป็นนักเก็งกำไรก็ต้องเน้นดูที่ข่าว และกระแสเงินเข้า และจังหวะในการซื้อ และขายทำกำไร และตัดขาดทุนให้เป็น ถ้าเป็นนักลงทุนก็ดูว่าราคาอยู่ในช่วงที่เรากำหนดไว้ในใจหรือไม่ ถ้าใช่ก็ทยอยซื้อ ถ้าไม่ใช่ถึงจะลงมามากก็ไม่ซื้อ ตัดสินใจโดยใช้ระบบที่ชัดเจน ไม่ไปใช้ระบบอารมณ์จากราคาตลาด ส่วนใหญ่ชอบบอกว่าตัวเองเป็นนักลงทุนเพื่อให้ฟังดูดี แต่จริงๆ แล้วคือนักพนัน นักพนันก็ต้องใช้หลักของนักพนันนักลงทุนก็ต้องใช้หลักของนักลงทุน”

set_3
รูปนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 4/6/57 ตอนที่น่าจะได้ผลตอบแทนมากสุด 27.31% ของหุ้นตัวเดียว

ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าผมดวงดี หรือว่าเดาเก่งหรอกครับ ใน 1 ปีมานี้หนังสือที่ผมได้ศึกษาเกี่ยวกับการตลาด และการลงทุนหลายๆ เล่ม ที่ผมได้เคยอ่าน และอยากจะแนะนำให้อ่านมีดังนี้ครับ

  1. แก่นแท้ของบัฟเฟตต์ : The Essential Buffett
  2. เหนือกว่าวอลสตรีท : ONE UP ON WALL STREET ของปีเตอร์ ลินซ์
  3. ตีแตก กลยุทธ์การลงทุนในภาวะวิกฤติ ของดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
  4. ลงทุนหุ้นอย่างสบายใจ ของดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
  5. ติวหุ้น…รวยด้วยวีไอ ของอธิป กีรติพิชญ์ (นิ้วโป้ง Fundamental VI)
  6. พ่อรวยสอนลูก ของ Robert T. Kiyosaki
  7. พ่อรวยสอนลงทุน ของ Robert T. Kiyosaki
  8. รวยหุ้นล้นฟ้าด้วยระบบคิดใหม่ ของคุณพิชัย จาวลา
  9. บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ

บ้างเล่ม ผมก็เขียนสรุปไว้ในเว็บของผม (www.abzolute.in.th/category/การลงทุน) และยังมีตามเว็บบอร์ด และ blog การลงทุนหลายๆ เว็บ ก็เป็นแหล่งความรู้ที่ดีนะครับ เช่น thaivi.org, aommoney.com, tsi-thailand.org, .settrade.com

เอกสารแจ้งเงินปันผล ได้แต่ละครั้งก็น้อย แต่ภูมิใจมาก ฮ่าๆๆ
เอกสารแจ้งเงินปันผล ได้แต่ละครั้งก็น้อย แต่ภูมิใจมาก ฮ่าๆๆ

และขอทิ้งท้าย 2 ข้อคิดทืี่ผมจำได้ขึ้นใจครับ

ผมไม่เคยพยายามทำเงินจากตลาดหุ้นผมซื้อหุ้นโดยใช้สมมุติฐานว่า ตลาดหุ้นจะปิดในวันรุ่งขึ้น แล้วจะไม่เปิดทำการเป็นเวลา 5 ปี” และถ้าคุณไม่เต็มใจที่จะถือหุ้นได้นานถึง 5 ปี 10 ปี ก็อย่าคิดที่จะถือหุ้นไว้แม้เพียงแค่ 10 นาที
– Warren Buffett –

แน่นอนว่าการลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนอะไรเลยมีความเสี่ยงมากกว่า
– คุณพิชัย จาวลา –

ครั้งหน้าผมจะมาเขียนถึงวิธีการเลือกหุ้นที่ดีแต่ละตัวของผม(สไตล์กากๆ) ว่าคิดอะไรบ้าง วิเคราะห์ตรงไหน คำนวณอะไร เน้นดูงบการเงินตรงส่วนไหนครับ 😀